April 27, 2024

หูตึง หนึ่งในภัยร้ายที่มากับหูฟัง ที่เรานั้นควรรู้

หูอื้อ

ปัจจุบันนั้นเทรนด์การใช้งาน Smart Phone นั้นกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก และ ที่สำคัญนั้น การใช้หูฟังเองก็มีความนิยมในหลากหลายอย่างมากด้วยเช่นกัน และ ด้วยความหลากหลายของการใช้หูฟังนั้นก็มีผลร้าย และ เงาร้ายที่เป็นเหมือนภัยเงียบที่เรานั้นอาจจะไม่รู้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาพูดถึงในเรื่องของภัยร้ายจากหูฟังที่เรานั้นควรที่จะรู้ไว้ เพื่อป้องกันได้ทัน และ จะได้รู้ทันภัยถึงของการใช้หูฟังที่มากจนเกินไปนั้นเอง  

ประเภทของหูฟัง  

ประเภทของหูฟังนั้นในปัจจุบันนั้น มี อยู่ใน 3 รูปแบบที่มีการใช้ งานกันอย่างแพร่หลาย และ ยังทำให้เกิดภาวะหูอื้อ รวมถึงปัญหาของการได้ยินที่มากมาย ยิ่งมากขึ้นด้วยเช่นกัน โดยหูฟังทั้ง 3 แบบนั้นจะมี  

  • In-Ear : หรือเป็นแบบ Ear-Plug ที่จะใส่เข้าไปในหู 
  • EarBud : เป็นหูฟังที่สามารถที่จะสวมได้แบบแนบหูพอดี  
  •  Full Size Head Phone : เป็นหูฟังที่สามารถครอบหูได้ 

โดยหูฟังในแต่ละแบบนั้นจะมีข้อดี และ ข้อเสียที่แตกต่างกัน แต่ว่า ที่กำลังเป็นที่นิยมนั้นคือแบบ In-Ear ที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้ง่าย เสียงชัดเจน  และ ที่สำคัญนั้น หลากหลายคนนั้นอาจจะยังไม่รู้ว่าการใส่หูฟังแบบ In-Ear นั้นค่อนข้างอันตรายต่อการได้ยินของเราอย่างมาก เพราะว่าลำโพงนั้นอยู่ใกล้กับประสาทหูมากที่สุด และด้วยแนวเพลงที่ค่อนข้างที่จะมีความหนักของดนตรี นั้นจึงทำให้ส่งผลต่อการได้ยินอย่างมาก  

หูฟัง กับความอันตราย  

การใช้หูฟังนั้นในกลุ่มวัยรุ่น และ วัยทำงาน ที่ใช้ในการพักผ่อน ไม่ว่าจะเป็นการดูหนัง ฟังเพลง หรือ คุยโทรศัพท์ และ แชต และ เล่นเกม  เนื่องด้วยหูฟังนั้นสามารถที่จะเก็บเสียงได้ดี และ สร้างความเพลิดเพลินให้กับเจ้าของ และ ไม่สร้างความรำคาญให้กับผู้อื่น แต่ เชื่อว่า โลกส่วนตัวที่สูงเกินไปกับการใช้หูฟังนั้นอาจจะอันตรายกว่าที่คิด เพราะว่าการที่ใช้หูฟังตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหนก็ตามอาจจะสร้างอันตราย แล ภัยรอบตัวเราอย่างเช่นการข้ามถนน หรือ อุบัติเหตุที่เรานั้นเห็นได้ตามข่าวบ่อย ๆ ในช่วงนี้  

หูตึงก่อนวัยอันควร  

การใส่หูฟังที่มีเสียงดังที่มากจนเกินไป และ เป็นเวลานานจะส่งผลทำให้เกิดความอันของคลื่นเสียง ซึ่งจะทำลายเซลล์ประสาทของประสาทหู และ เซลล์จนในหู และ ส่งผลต่อการได้ยิน และทำให้เกิดอาการหูอื้อ และ ส่งผลต่อประสาทรัฐสัญญาณ ในหูเสื่อมลงไปเรื่อย ๆ จนทำหูอื้อ หูตึง และ หูหนวกได้นั้นเอง โดยจะมีอาการที่เห็นชัดเจนได้ดังนี้  

  • ได้ยินเสียงวิ้ง ๆ ในหู ที่ง ๆ ที่ไม่ได้เปิดเพลง  
  • มีอาการมึนงง และ ยืนทรงตัวได้ค่อนข้างยากเมื่อตื่นนอน  
  • เริ่มได้ยินเสียงไม่ชัด และ หูดื้อจนทำให้สื่อสารได้ลำบาก  
  • มีเสียงสั้น “หึ่ง ๆ” เสี่ยงอู้อี้ข้างใดข้างหนึ่ง หรือ ทั้ง 2 ข้าง  
  • ปวดในช่องหูเมื่อได้ยินเสียงดัง  

จะเห็นว่าในเรื่องของการใช้งานหูฟังนั้นเราสามารถที่จะใช้งานได้ แต่ว่าไม่ควรที่จะมากจนเกินไปเพราะว่าอาจจะทำให้ส่งผลต่อการได้ยินของเรา และ ส่งผลเสียต่อการได้ยินของเราได้ด้วยเช่นกัน